ถอดบทเรียนจากวิดีโอ (คิดยกกำลังสอง: ทักษะสำหรับโลกอนาคต, ThaiPBS)

ถอดบทเรียนจากวิดีโอ (คิดยกกำลังสอง: ทักษะสำหรับโลกอนาคต, ThaiPBS)

 ในศตวรรษที่ 21 การเรียนแบบท่องจำ และการเรียนเพื่อรู้แต่ข้อมูล (information) เพียงอย่างเดียว จะมีประโยชน์น้อยลงทุกที หรือเรียกได้ว่า ความรู้จาก 1i ไม่เพียงพอ แต่ต้องปรับเป็น 4i เพราะเรากำลังเจอโจทย์ท้าทายแห่งยุค ในการพัฒนาคนให้พร้อมสำหรับ “งานที่ยังไม่มีในวันนี้ โดยต้องใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด เพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร” 

ปัจจุบันมีโปรแกรมหมากล้อมที่สามารถเอาชนะมนุษย์ได้แล้ว และหลังจากนั้นไม่นานก็มีโปรแกรมอีกตัว ที่เก่งกว่าเดิมสามารถเอาชนะแชมป์โลกหมากล้อมได้สำเร็จ คือ Alpha Go Zero เป็นโปรแกรมที่เรียนรู้ด้วยตัวเองทั้งหมด ไม่มีคนสอนหรือลงโปรแกรมอะไรไว้ เพื่อสนับสนุนข้อความที่ว่าการเรียนแบบท่องจำมีประโยชน์น้อยลง ขอยกตัวอย่างเรื่องดาวพลูโต ดาวพลูโตเคยเป็นส่วนหนึ่งของดาวนพเคราะห์ในยุคหนึ่ง ไม่กี่ปีมานี้ดาวพลูโตถูกลดฐานะให้เป็นดาวเคราะห์แคระ และในเวลาเดียวกันก็ค้นพบดาวเคราะห์แคระแบบดาวพลูโตอีกสี่ดวง ถ้าเราเรียนแบบท่องจำความรู้เหล่านี้จะล้าสมัยและไร้ประโยชน์สำหรับโลกอนาคตที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน

เราจะต้องเตรียมพร้อมให้เด็กซึ่งจะเป็นพลเมืองที่ขับเคลื่อนประเทศต่อไปสำหรับงานที่ยังไม่มีในวันนี้ โดยต้องใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด เพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร ซึ่งในอนาคตมนุษย์เราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิดจนแก่ สิ่งสำคัญคือทำอย่างไรให้มนุษย์ยอมรับการเรียนรู้นั้น

  เมื่อก่อนคนที่จบปริญญาตรีได้ก็มีหลักประกันในการทำงาน จากนี้ไปไม่ใช่อีกแล้ว การเรียนในปัจจุบันต้องมี 4I ได้แก่

(i)magination – จินตนาการ
(i)nspiration – แรงดลใจ
(i)nsight – ความเข้าใจลุ่มลึก
(i)ntuition – ญานทัศน์ การหยั่งรู้
  เรากำลังเจอโจทย์ที่ท้าทาย หากเราเน้นแต่การท่องจำจากบทเรียน การเรียนรู้ต่อไปต้องการทักษะแห่งโลกอนาคตหรือทักษะในศตวรรษที่ 21 มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ASK (Attitude, Skill, Knowledge) การสอนในปัจจุบันเน้นความรู้มากเกินไป เน้นทัศนคติและทักษะน้อยเกินไป เราต้องสอนให้เด็กคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ หาความรู้ด้วยตัวเอง สื่อสารเก่ง อดทน และเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย 
  การเรียนการสอนต้องเปลี่ยนแปลงไป โดยผู้เรียนมีบทบาทมากขึ้น หรือที่เรียกว่า การเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Active Learning) ครูจะมีบทบาทน้อยลง เพราะการบรรยายทำให้เด็กซึมซับความรู้ได้น้อยกว่าการปฏิบัติ
          Active Learning คืออะไร? สอนยังไงให้เป็น Active Learning?
Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำ และได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ภายใต้สมมติฐาน 2 ประการ คือ

1. การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
2. แต่ละคนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน

ความรู้ที่ได้เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว เกิดการเรียนรู้จากการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา อีกทั้งให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง ได้แก่ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมินค่า
  โลกใบใหม่เลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมแล้ว เพื่อให้เด็กยุคต่อไปสามารถเกิดการเรียนรู้ไตลอดชีวิต ทักษะสำหรับโลกอนาคตจึงเป็นสิ่งจำเป็น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น