บทที่ 5 การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษา

    โฉมหน้าการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน มุ่งไปสู่การให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ซึ่งการเรียนรู้มิใช่เป็นเพียงการเรียนรู้เพื่อรู้เท่านั้น แต่เป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ เรียนเพื่อรู้จักตนเอง เรียนเพื่อให้รู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น เรียนเพื่อความเจริญงอกงามทั้งร่างกายและจิตใจ เรียนรู้เพื่อการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ต่างๆได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นแกนหลักหอการปฏิรูป และเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาดังที่ประเวศ วะสี (2541, หน้า 68) กล่าวว่า การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาเพราะเป็นการปฏิรูปแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษา จากเดิมที่การมองคนเป็นวัตถุที่ต้องหล่อหลอมตกแต่ง โดยการสั่งสอนอบรมไม่เป็นการมงคลในฐานะคนเป็นผู้มีศักยภาพในการเรียนรู้และงอกงามอย่างหลากหลาย
    สำหรับประเทศไทยได้จัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษามาระยะหนึ่ง โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ. ศ. 2545 เป็นแม่บทหรือหรือเทศทาง และนำลงสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้อง และสำคัญหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 และพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาสำหรับสถานศึกษาแต่ละแห่งตามความเหมาะสมจากผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษานี้ พบว่า บางพื้นที่ยังมีปัญหาอยู่บ้าง ตัวอย่างเช่นผลการวิจัยของสำราญ ตติชรา (2547, หน้า1) การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาของครูในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตรา พบว่า การจัดการเรียนการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา ขอครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอเมืองตราดยังมีปัญหาอยู่หลายประเด็นตามลำดับ คือ การประชาสัมพันธ์การสอน การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ การจัดสภาพแวดล้อมทางการสอน การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนด้านประเมินผลตามสภาพจริงการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญการทำวิจัยในชั้นเรียน การให้ผู้เรียนค้นคว้าด้วยตนเองและเมื่อ เปรียบเทียบปัญหาต่างๆในการจัดการเรียนรู้ปรากฏว่าผลของปัญหาไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาจำเป็นจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานเรื่องนี้อย่างถ่องแท้จนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษายึดหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545 ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนซึ่งเป็นความหมายเดียวกันกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ การยึดผู้เรียนเป็นหลักวิธีนี้ได้พัฒนาเป็นเวลานานมากกว่า 80 ปีแล้วปัจจุบันได้มีผู้นำเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนไปสู่จุดหมายปลายทางที่พึงประสงค์ได้มี 2 วิธีคือ

1. การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยผู้เรียนจะเป็นผู้ทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวกความรู้เป็นผลพลอยได้จากการทำกิจกรรม ระหว่างทำกิจกรรมเด็กผู้เรียนก็จะได้พัฒนาตนเองทางการคิด การปฏิบัติ การแก้ปัญหา การทำงานร่วมกัน การวางแผนการจัดการ และเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เรียกว่า เรียนรู้วิธีการหาความรู้
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นกระบวนการ หมายถึง การมีขั้นตอนต่างๆให้ผู้เรียนได้แสดงออกหรือปฏิบัติโดยใช้ร่างกายความคิดการพูดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ คือ ความรู้หลังจากทำกิจกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคุณสมบัติทางความรู้ความคิดทักษะความสามารถทางการปฏิบัติตลอดทางเกิดเจตนาคติ ค่านิยมที่ดีงาม
นอกจากนี้สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2543 ได้สรุปประเด็นสาระสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 การเรียนรู้โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หมายถึง การเรียนรู้ที่เป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์และสิ่งต่างๆ ที่ให้ความหมายต่อตนเองจากการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการคิด และแสวงหาความรู้ควบคู่ไปกับการปฏิบัติจริง ให้ผู้ที่ค้นพบองค์ความรู้ และประสบการณ์ด้วยตนเองครูเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้จัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมและแหล่งวิทยาการให้เอื้อต่อการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
ประเด็นที่ 2
การเรียนรู้เรื่องของตนเองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจของตนเอง การรับรู้และตระหนักในตนเองสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับค่านิยมที่ดีงาม ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความเพียรพยายามในการทำความดีอย่างไม่ย่อท้อ เสริมสร้างลักษณะนิสัยและสุนทรียภาพความดีงามในตนเอง  การเรียนรู้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าและพัฒนาคุณภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ประเด็นที่ 3 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพมีลักษณะดังนี้
3.1 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต หมายถึง การเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่สำคัญและจำเป็นดังต่อไปนี้การรู้จักคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความตระหนักรู้ในตนเอง มีความเห็นใจผู้อื่น มีความภูมิใจในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคมรู้จักการสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร รู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหา รู้จักการจัดการกับอารมณ์และความเครียด
3.2 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพ หมายถึง การเรียนรู้เพื่อค้นพบและใช้ศักยภาพของตนเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับตนเองรู้จักวิธีเลือกประกอบอาชีพที่สุจริตเหมาะสมสามารถพึ่งตนเองและเลี้ยงตนเองได้อย่างพอเพียงแก่อัตภาพ
ประเด็นที่ 4 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหาโดยเน้นประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติ หมายถึง การใช้ทักษะการคิดเพื่อค้นหาคำตอบในสถานการณ์ต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริงเพื่อให้สามารถเผชิญและผจญกับปัญหา และการจัดการกับภาวะต่างๆได้อย่างเหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม
ประเด็นที่
5 การเรียนรู้โดยผสมผสานความรู้ คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หมายถึง การเรียนรู้ที่มุ่งให้มีความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ควบคู่กับการพัฒนาตนเองทางจิตใจบุคลิกภาพและลักษณะนิสัย
ประเด็นที่ 6 การเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาประชาธิปไตย หมายถึง การเรียนรู้ในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และการปฏิบัติตามหน้าที่ของตน การเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น โดยคำนึงถึงความคิดเห็นและผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
ประเด็นที่
7 การเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม หมายถึง การเรียนรู้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจความตระหนักในคุณค่าของความรู้ต่างๆที่ได้คิดค้นและสั่งสมประสบการณ์โดยภูมิปัญญาไทยตลอดจนมีความรักชื่นชมและห่วงแขนในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและสืบสานให้ยั่งยืนตลอดจนเชื่อมโยงสู่สากล
ประเด็นที่ 8 การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์สรุปผลเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา
ประเด็นที่
9 การเรียนรู้โดยความร่วมมือของครอบครัวชุมชน หมายถึง การที่ครอบครัวชุมชนสถานศึกษามีบทบาทร่วมกันในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างเต็มตามศักยภาพ
ประเด็นที่ 10 การประเมินผลผู้เรียน หมายถึง กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้เรียนว่าเป็นไปตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้หรือไม่อย่างไร
ดังนั้นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีควรจะต้องเป็นการเรียนการสอนที่ดีซึ่งการเรียนการสอนที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
1.  ต้องคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ต้องยึดความต้องการของผู้เรียนเป็นหลัก
3. ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียน
4. ต้องเป็นที่น่าสนใจไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย
5. ต้องดำเนินไปด้วยความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน
6. ต้องท้าทายให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้
7. ต้องตระหนักถึงเวลาที่เหมาะสมที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้
8. ต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง
9. ต้องสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้
10. ต้องมีจุดมุ่งหมายของการสอน
11. ต้องสามารถเข้าใช้ผู้เรียน
12. ต้องคำนึงถึงภูมิหลังของผู้เรียน
13. ต้องมีวิธีการใดวิธีหนึ่งเท่านั้น
14. การเรียนการสอนที่ดีควรเป็นพลวัต (Dynamic)
15. ต้องสอนในสิ่งที่ไม่ไกลตัวผู้เรียนมากเกินไป
16. ต้องมีการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
คำว่าผู้เรียนเป็นสำคัญมาจากบทบัญญัติในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ที่บัญญัติไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  สำหรับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้เป็นการจัดหลักการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีการเรียนรู้หลายทฤษฎี เช่น พุทธปรัชญาจิตวิทยาสาขามนุษยนิยม (Humanistic Approach) ทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) เสื้อเกี่ยวกับเรื่องนี้มีนักคิดกล่าวไว้หลายท่าน( กลุ่มวิชาการ 2543, หน้า 3-4) เช่น
พระราชวรมณี
(ประยูร ธมมจิตโต,2540, หน้า 13)กล่าวว่าเด็กเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ครูต้องสร้างความใฝ่รู้ขึ้นในจิตใจของเด็กให้ได้คือให้มีธรรมฉันทะ คือความใฝ่รู้ และกัตตกัมยตา ฉันทะ คือ ความใฝ่ธรรม เด็กมีความสุขในการเรียนรู้ครูสร้างบรรยากาศในโรงเรียนให้เป็นสัปปริสสังเสวะ หมายความว่าครูเป็นกัลยาณมิตร คือ เพื่อนที่ดีมีเมตตาให้ความรักความอบอุ่นแก่ผู้เรียนครูอาจจะใช้วิธีการเสริมแรงทางบวกให้มากขึ้นจัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียน
ส่วนประเวศ วะสี (2541, หน้า 1) มองในเชิงหลักการว่า การจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริงของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง เรียนรู้เพื่อสร้างปัญญาให้ตนเอง รู้จักตนเอง รู้จักโลก สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งทางเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม อยู่ร่วมกันอย่างมีดุลยภาพ เรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง มีความสุข สนุกสนาน และเกิดฉันทะในการเรียนรู้
สำหรับสุมน อมรวิวัฒน์ (2547, หน้า 12) มีแนวคิดว่า การเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีอิสรภาพได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์เรียนรู้อย่างมีความสุข เน้นกระบวนการคิด ปฏิบัติได้จริง สอดคล้องกับความถนัด สอดคล้องกับคติ สอนให้ทำ นำให้คิด ลงมือทำ เรียนรู้สอนตนเองเอาความจริงเป็นตัวตั้งเอาวิชาเป็นตัวประกอบ
แต่โกวิท ประวาลพฤกษ์ (2545, หน้า 8) มีแนวคิดสู่ปฏิบัติการให้เกิดจริงว่าการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด ภายหลังจากการเรียนรู้ต้องการให้ผู้เรียนมีแนวคิดบางอย่างและลงมือปฏิบัติได้ถูกต้องแม่นยำ ด้วยความรู้สึกชื่นชมยินดี อันเป็นการสร้างบุคลิกภาพที่ดี คุณธรรมและพัฒนาการรอบด้านของผู้เรียน ถ้าการศึกษาจัดได้ครบถ้วนด้วยกระบวนการดังกล่าว มาแล้ว ผู้เรียนก็จะเป็นผู้คิดเองได้ ตัดสินใจเองได้ ลงมือปฏิบัติควบคุมตนเองได้ มีศักยภาพในการตัดสินใจ และทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นประจำ คิดและทำเพื่อประโยชน์ของสังคมไทยโดยส่วนรวมกันเป็นค่านิยมที่พึงประสงค์ของชาติสืบไป
ทิศนา แขมมณี (2548, หน้า 32) มีแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หมายถึง การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญที่สุด กล่าวคือ ผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งทางร่างกาย ปัญญา สังคมและอารมณ์ ได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ ข้อมูลคิดวิเคราะห์ และสร้างความหมายความเข้าใจในสาระในกระบวนการต่างๆด้วยตนเองรวมทั้งด้านลงมือปฏิบัติและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
จากแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว สามารถสรุปเป็นความหมายเชิงปรัชญาและเชิงปฏิบัติการได้ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุดหรือผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอาชีวิตจริงและเงื่อนไขการรับรู้ของผู้เรียนเป็นตัวตั้ง ผู้เรียนมีอิสระภาพได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาเต็มศักยภาพของความเป็นมนุษย์ทั้งจิตใจ ร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม ผู้เรียนได้รับการพัฒนาแบบองค์รวมได้รับการฝึกให้มีศักยภาพในการสร้างรูปแบบคิดผู้เรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรมการเรียนรู้ได้ถูกต้องแม่นยำด้วยความรู้สึกที่ดีงามอันเป็นการสร้างบุคลิกที่ดีงาม เรียนรู้วิธีการเรียนรู้ จากการปฏิบัติของตนเอง คิดอย่างมีระบบและมีวิจารณญาณอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุขเรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
2. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง ได้พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ศึกษาค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตามความถนัดความสนใจด้วยวิธีการ กระบวนการและใช้แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในและนอกห้องเรียน ผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ได้มาตรฐานตามที่หลักสูตรกำหนด มีความรู้ชื่นชมยินดีในผลการปฏิบัติของตน สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน สังคมและส่วนรวม
3. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้จัดหรือครูผู้สอนดำเนินการให้สอดคล้องกับผู้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถทางปัญญา วิธีการเรียนรู้โดยบูรณาการคุณธรรม ค่านิยม อันพึงประสงค์บางแผนการจัดกิจกรรม และประสบการณ์การเรียนรู้อย่างเป็นระบบให้ผู้เรียนได้พัฒนาสติปัญญา อารมณ์ และทักษะการปฏิบัติส่งเสริมสนับสนุนการนำความรู้ไปใช้ให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในสถานศึกษา ให้พัฒนา กระบวนการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสนับสนุนด้านทรัพยากรการลงทุน เพื่อศึกษาพร้อมทั้งดูแลตรวจสอบกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
จากข้อสรุปและแนวคิดของผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆข้างต้น ในขณะนี้ทุกหน่วยงานทั้งในและนอกกระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักในความสำคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้จึงได้พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างหลากหลาย และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาทิ หน่วยงานต่างๆดังต่อไปนี้
            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545, หน้า 8-10) ได้สรุปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ไว้ดังนี้
1.การจัดการศึกษาต้องเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและประสบการณ์การเรียนรู้ยึดหลักดังนี้
   1.1 ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศรวมทั้งแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้หลากหลายเพื่อเอื้อต่อความสามารถของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติที่สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจเหมาะสมแก่วัย และศักยภาพของผู้เรียน เพื่อให้การเยนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่และเป็นการเรียนรู้กันและกัน อันก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครอง บุคคล ชุมชน และทุกส่วนของสังคม
1.2 ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดเรียนการสอนมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดการใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. ผู้ปลูกฝังและสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ให้กับผู้เรียน โดยนัยความรู้คุณธรรมค่านิยมที่ดีงาม และบูรณาการความรู้ในเรื่องต่างๆอย่างสมดุลรวมทั้งการฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการอย่างมีวิจารณญาณการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ใช้ความรู้โดยให้ผู้เรียนมีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องต่างๆดังนี้
2.1 ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัวชุมชน ชาติ และ สังคมโลก ร่วมแห่งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.2 ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ เรื่องการจัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
2.3 ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการรู้จักประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
2.4 ความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และด้านภาษาเน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
2.5 ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
3.  กระบวนการเรียนรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ. ศ. 2545 ได้กำหนดแนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
3.1 จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.2 ให้มีการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
3.3 จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ทำได้คิดเป็นทำเป็นรักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
3.4 จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานความรู้ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
3.5 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการสอนและอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
3.6 ผู้เรียนและผู้สอนเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ
3.7 การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดาผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
สำนักงานการศึกษากรุงเทพมหานคร(อ้างในสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ2543, หน้า 36-37) ได้ระบุถึงการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและมุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนเก่งคนดีและมีความสุขโดยมีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งหมด 11 กิจกรรมคือ
1. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านมนุษยสัมพันธ์
2. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านวิทยาศาสตร์และมิติสัมพันธ์
3. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านเหตุผลคณิตศาสตร์
4. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านภาษา
5. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านดนตรี
6. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านศิลปะ
7. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านพลศึกษา
8. กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
9. กิจกรรมศูนย์เพื่อนเด็กจิตวิทยาแนะนำและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน
10. กิจกรรมศูนย์วิทยาการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน
11.กิจกรรมการวัดและประเมินผลที่เสริมสร้างศักยภาพผู้เรียน
สำนักคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2543 หน้า 31-32 ในฐานะหน่วยปฏิบัติที่ดูแลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตั้งแต่ระดับปฐมวัยประถมศึกษาได้กำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุดเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่งคนดีมีความสุขโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ลักษณะคือ
              1.  การเรียนรู้อย่างมีความสุขเป็นสภาพการจัดการเรียนการสอนในบรรยากาศที่ผ่อนคลายมีอิสระยอมรับความแตกต่างของบุคคลมีหลากหลายในวิธีการเรียนรู้
2. การเรียนรู้แบบองค์รวมเป็นการเรียนรู้สิ่งต่างๆอย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อเนื่องกลมกลืนกันทั้งในเรื่องใกล้ตัวในท้องถิ่นสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เรื่องของสากลการเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมโลก
การเรียนรู้จากการเกิดและการปฏิบัติเป็นการจัดการเรียนให้ได้ฝึกคิดและปฏิบัติจริงโดยศึกษาประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้ สื่อ เหตุการณ์ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวต่างๆ และสรุปเป็นองค์ความรู้แก่ตนเอง
การเรียนรู้ร่วมกับ บุคคลอื่น เป็นกระบวนการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กัน โดยการถ่ายทอดในแลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรม อารมณ์ และสังคมร่วมกัน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย
5. การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเองเป็นการรับรู้ลีลาการเรียนรู้และความถนัดของตนเองเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิเคราะห์ประเมินจุดดีจุดด้อยและปรับปรุงกระบวนการการเรียนรู้ของตนเองเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสม
จากแนวคิดและหลักการของการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญที่นำเสนอในข้างต้นสามารถนำมาเป็นกรอบในการออกแบบวิธีการจัดการเรียนรู้หรือวิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาได้หลากหลายวิธีได้แก่
1.วิธีสอนแบบโครงงาน
2. วิธีสอนแบบ 4 Mat
3. วิธีสอนแบบร่วมมือ
4. วิธีสอนแบบซิปปา
5. วิธีสอนแบบบูรณาการ
6. วิธีสอนแบบใช้เส้นเล่าเรื่อง
7. วิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
8. วิธีสอนแบบโครงสร้างความรู้
           วิธีการสอนในปัจจุบันตามแนวปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) เรียกว่าวิธีการจัดการเรียนรู้ซึ่งในมาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  โดยมีหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ. ศ. 2551 เป็นกรอบหรือทิศทางมุ่งให้แสวงหาวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งให้เกิดความสมดุลทั้งด้านปัญญาความคิดและด้านอารมณ์ ด้วยความสามารถทางปัญญาและความคิดให้แก่ ความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิจารณญาณ วนความสามารถทางอารมณ์
    การสอนแบบโครงงาน Project Design
เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ค้นหาความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเองในด้านต่างๆมาจากแนวคิดพื้นฐานของการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) และการเรียนรู้ตามสภาพจริงโดยมีการศึกษาหลักการ และวิธีเกี่ยวกับโครงงานที่เลือกศึกษาวิเคราะห์วางแผนการทำงานลงมือทำงานและปรับปรุงเพื่อให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ในกระบวนการเรียนการสอนได้ใช้ทักษะกระบวนการ สอดแทรกคุณธรรม ทำงานเป็นกลุ่มฝึกปฏิบัติจริงเน้นผู้เรียนมีส่วนร่วมมีครูเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษาตลอดเวลาเน้นฝึกคนให้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
ประโยชน์ของการจัดทำโครงงาน
1. ทำงานตามความถนัดความสนใจของตนเอง
2. ฝึกทักษะกระบวนการทำงานด้วยตนเองหรือร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม
3. สามารถวางแผนการทำงานเป็นระบบ
4. พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5. ศึกษาค้นคว้าและแก้ไขปัญหาจากการทำงาน
6. เป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในโครงงานที่ทำจริง ในกรณีที่ต้องนำแสดงต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
ความหมายของโครงงาน
โครงงานหมายถึงการกำหนดรูปแบบในการทำงานอย่างเป็นระเบียบ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานผลงานที่สัมพันธ์กับหลักสูตร และนำไปใช้ประโยชน์กับชีวิตจริงประเภทของโครงงานแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. ประเภทการศึกษาทดลองเป็นการศึกษาเปรียบเทียบหรือพิสูจน์ความจริงตามหลักวิชาการอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือค้นคว้าหาข้อเท็จจริงในสิ่งที่ต้องการรู้เช่นแสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชอาหารพื้นบ้านกับการเจริญเติบโตของไก่
2. ประเภทสำรวจข้อมูลเป็นการสำรวจรวบรวมข้อมูลและนำข้อมูลนั้นนำมาจำแนกเป็นหมวดหมู่และนำเสนอในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนหรือพัฒนางานหรือปรับปรุงงานเช่นการสำรวจการขาดสารไอโอดีนในชุมชนการสำรวจการเรียนต่อของเยาวชนอำเภอสำโรงทาบในปี 2542
3. ประเภทสิ่งประดิษฐ์เป็นการผลิตชิ้นงานใหม่และศึกษาคุณภาพประสิทธิภาพประโยชน์คุณค่าของชิ้นงานนั้นๆเช่นเครื่องฟักไข่ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตรโดยใช้กระป๋องน้ำมันเครื่อง
4.ประเภทพัฒนาผลงานเป็นการค้นคว้าหลุดพัฒนาชิ้นงานทำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นหรือมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นการประดิษฐ์อุปกรณ์นับจำนวนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
บทบาทของผู้เรียนการสอนแบบโครงงาน Project Design
1. โครงงาน
2. ศึกษาข้อมูล
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
5.เขียนโครงงานวางแผนการทำงาน
6. ปฏิบัติตามโครงงาน
7. ประเมินผลโครงงาน
   วิธีการสอนแบบ 4 Mat
เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางรวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดีมีปัญญารวมทั้งมีความสุขแนวคิดนี้มาจาก เบอร์นิส  แมคคาร์ธี ซึ่งได้นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน และผลการศึกษาด้านพัฒนาสมอง 2 ซีกได้แก่ความสามารถของสมองซีกซ้าย คือการคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การใช้สามัญสำนึก การคิดแบบหลากหลายและ ความสามารถของสมองซีกซ้าย คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดหาเหตุผล การคิดแบบปรนัย การคิดแบบมีทิศทาง การตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มีรูปแบบและลักษณะการเรียนรู้แตกต่างกัน ดังนี้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 232)
ขั้นที่ 1 การนำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์ของผู้เรียน เป็น 2 ขั้นย่อย ดังนี้
1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์
1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้
ขั้นที่ 2 การเสนอเนื้อหาสาระข้อมูลแก่ผู้เรียนสามารถแบ่งเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้
2.1 การบูรณาการประสบการณ์สร้างความคิดรวบยอด
2.2 การพัฒนาเป็นความคิดรวบยอด
ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อยดังนี้
3.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน
3.2 การนำเสนอผลการปฏิบัติ
ขั้นที่ 4 การนำความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้แบ่งเป็น 2 ขั้นย่อยดังนี้
4.1 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือการพัฒนางาน
4.2 การนำเสนอผลงานหรือการเผยแพร่
    วิธีการสอนแบบร่วมมือ cooperative Learning
สเปนเซอร์คาเกน นักศึกษาชาวสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (coorative Learning) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1985 ได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาและในหลายประเทศในแถบเอเชีย  โดยมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และได้นำเสนอแนวคิดหลักที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างมีประสิทธิผลไว้ 6 ประการดังนี้
1. การจัดกลุ่ม( TEAMS) หมายถึงการจัดกลุ่มผู้เรียนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดซึ่งควรจัดผู้เรียนเข้ากลุ่มไว้ดังนี้
1. จำนวนผู้เรียนในกลุ่ม 4
2. ประกอบด้วยผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงปานกลางและต่ำคละกันไป
3. จัดให้มีผู้เรียนทั้งชายและหญิงในกลุ่มเดียวกัน
4. จัดให้มีผู้เรียนอยู่ในกลุ่มเดียวกันประมาณ 6 สัปดาห์
5. บางกรณีอาจจัดกลุ่มโดยวิธีอื่นเช่นจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความสนใจเหมือนเหมือนกันในเรื่องเดียวกันในการศึกษาเฉพาะกรณีเช่นการทำโครงงานวิทยาศาสตร์หรือจัดกลุ่มและแบบสุ่มเมื่อต้องการทบทวนความรู้
2. ความมุ่งมั่น (will) หมายถึง ความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของผู้เรียนที่จะทำงานร่วมกันซึ่งจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลร่วมกัน สามารถสร้างความมุ่งมั่นร่วมกันให้เกิดขึ้นได้โดยใช้กิจกรรมอื่นๆที่ไม่ใช่กิจกรรมทางวิชาการ เช่นการเล่นเกม การสัมภาษณ์โดยวิธีการต่อไปนี้ 
2.1 การสร้างความมุ่งมั่นของกลุ่มที่จะทำงานร่วมกัน
2.2 การสร้างความมุ่งมั่นของฉันเรียน
2.3 การทำงานร่วมกันโดยเลือกกิจกรรมที่คนเดียวไม่สามารถทำได้สำเร็จ
3. การจัดการ (Management) หมายถึง การจัดการกลุ่มให้สามารถทำกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวมถึงการจัดการของผู้เรียน เพื่อให้การทำกิจกรรมของกลุ่มประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน
3.1 การจัดที่นั่งของนักเรียนในกลุ่ม
3.2 การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม
3.3 การสร้างกฎของห้อง (Class rule)
3.4 การให้สัญญาณเงียบ (quiet signal)
3.5 การดูแลกลุ่มไม่ให้วุ่นวายกับกลุ่มเพื่อน
4. ทักษะทางสังคม (Social Skills) หมายถึง การพัฒนาให้เด็กมีทักษะในการทำงานทำกิจกรรมร่วมมือกันให้มีการร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างถึงใจ
5. กฎพื้นฐาน 4 ข้อ (Basic principles: Ples)
หมายถึง หลักการพื้นฐานของการเรียนรู้แบบร่วมใจกัน ซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้
5.1 การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
5.2 การยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน
5.3 ความเสมอภาค
5.4การ มีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
6. รูปแบบของกิจกรรม (Structures) หมายถึง แบบของกิจกรรมในการทำงานกลุ่ม หลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา
   วิธีสอนแบบซิปปา (Cippa model)
เป็นวิธีสอนหรือการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้น ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการคือ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 229)
1. C Construct หมายถึง การสร้างความรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivism)
2. I Interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
3. P physical participation หมายถึง การมีส่วนร่วมทางกาย
4. P process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่างๆที่เน้นทักษะต่อการดำรงชีวิต
5. A  Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบซิปปามีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการดังกล่าวแล้วครูผู้สอนสามารถเลือกรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้หรือกิจกรรมใดก็ได้ที่สามารถจัดกิจกรรมใดก่อนหลังได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ
   วิธีสอนแบบบูรณาการ
      วิธีสอนแบบบูรณาการเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่และเป็นประสบการณ์ตรงที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ในวิทยาการหลากหลายแขนงในลักษณะสหวิทยาการ  โดยใช้กระบวนการเรียนรู้  กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา และกระบวนการแสวงหาความรู้ ที่เชื่อมโยงทั้งหลักสูตรและวิธีการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนแนวคิดของผู้เรียนเพื่อให้เกิดความรู้แบบองค์รวมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
วิธีการสอนแบบบูรณาการ มีขั้นตอนในการสอนดังต่อไปนี้ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546, หน้า 99)
1. กำหนดหัวข้อสาระการเรียนรู้
2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
3. กำหนดเนื้อหาของเรื่อง
4.กำหนดขอบเขตการเรียนรู้
5. ดำเนินกิจกรรม
6. ประเมินผล
    วิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง
      คำว่าวิธีการสอนแบบเล่าเรื่อง ตรงกับภาษาอังกฤษว่า story line นำมาใช้กับภาษาไทยว่าเล่าเรื่องดำเนินเรื่องเรื่องราวโครงเรื่องวิธีสอนวิธีหนึ่งที่จะจัดเนื้อหาสาระของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการกัน โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่ง เป็นแกนเรื่องส่วนมากจะยึดเนื้อหาสาระสังคมศึกษา หรือ วิทยาศาสตร์ หรือสุขศึกษาเป็นแกรมเรื่องแล้วนำกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆในหลักสูตรมาบูรณาการทางภาษาไทยศิลปะคณิตศาสตร์การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะเป็นการสมมติเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่จะเรียนรู้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้โดยใช้เล่าเรื่องมีหลักการจัดการเรียนรู้ดังนี้
1. การสร้างหน่วย การเรียนโดยใช้กลุ่มสาระการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้หนึ่งเป็นแกนเรื่องและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นนำบูรณาการด้วยการสร้างแผนผังสาระการเรียนรู้กิจกรรมก่อนเป็นผู้สอนจะต้องกำหนดชื่อเรื่องหัวเรื่องที่จะจัดการเรียนรู้ในกำหนดหัวข้อย่อยโดยบูรณาการเนื้อหาสาระกิจกรรมแล้วกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้ชัดเจน
2. สร้างสถานการณ์หรือเรื่องราวจากหน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องสมมุติสถานการณ์หรือเรื่องราวขึ้นซึ่งต้องมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต เหตุการณ์ และสถานการณ์ที่สนองต่อผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
3. การจัดการเรียนรู้ตั้งจัดทำเส้นทางการดำเนินเรื่องคำถาม นำกิจกรรมสื่อการเรียนรู้และลักษณะการเรียงโดยทำเป็นแผนการเรียนรู้
4. การสอนตามแผนการเรียนรู้จะแบ่งเวลาการเรียนตามเส้นทางการดำเนินเรื่อง ในตารางแผนการเรียนรู้อาจกำหนดเวลาเรียนแต่ละเส้นทางการดำเนินเรื่องซึ่งอาจใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง
วิธีสอนแบบปุจฉาวิสัชนา
    วิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนาเป็นการเรียนรู้แบบถามต่อเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดและรู้จักหาคำตอบด้วยตนเอง การตั้งคำถามผู้ตั้งคำถามจะต้องใช้ความคิดในการตั้งคำถาม ขณะเดียวกันผู้ตั้งคำถามจะต้องมีคำตอบอยู่ในใจ  การสอนแบบนี้ในการเรียนรู้จึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์และผู้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาในการสื่อสารวิธีการสอนแบบปุจฉาวิสัชนาจะใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (ชูชาติ เชิงฉลาด, 2546, หน้า 251)
ขั้นตอนการสอนแบบปุจฉาวิสัชนามี 6 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 แนะนำรูปแบบการเตรียมผู้สอนกับผู้เรียน จะกำหนดหัวข้อการเรียนและจุดประสงค์การเรียนรู้หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและขั้นตอนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อของการตั้งคำถามให้ตรงจุดประสงค์การเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนกำหนดหัวข้อของการตั้งคำถามให้ตรงจุดประสงค์
ขั้นที่ 2 อ่านหรือเตรียมสื่อเพื่อหาความรู้และเตรียมคำถาม ผู้เรียนศึกษาความรู้จากแหล่งต่างๆหรือสื่อที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละ 6-8 คนผู้เรียนศึกษาซึ่งและตั้งคำถามลักษณะของคำถามจะแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. เป็นคำถามที่เป็นข้อเท็จจริง
2. คำถามที่ต้องการคำอธิบายชี้แจง
3. คำถามเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าเนื้อหาหรือความคิด
ขั้นที่ 3 วางแผนและการจัดกลุ่มคำถาม ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะจับกุมคำถามของตนตามเนื้อหาสาระที่เป็นเรื่องเดียวกันเข้าด้วยกัน ถ้าเลือกประเด็นคำถามที่ไม่ตรงประเด็นออกแล้วนำคำถามของผู้อื่นมารวมกัน
ขั้นที่ 4 ดำเนินการถามตอบ ควรมีการจัดที่นั่งในการดำเนินการโดยผู้ตอบคำถามค่ะนั่งหน้าชั้น ส่วนผู้ถามเจ้าหน้าที่ด้านข้างของผู้ตอบคำถามมุมใดมุมหนึ่งของห้องเรียน
ขั้นที่ 5 ทบทวนและสรุปความรู้ ครูผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุปเนื้อหาสาระตามประเด็นคำถาม โดยจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาสาระความรู้เข้าด้วยกันและตั้งเป็นหัวข้อเรื่องที่จะเป็นคำตอบ คล้ายกันเข้าด้วยกัน
ขั้นที่ 6 กิจกรรมสร้างสรรค์ เมื่อตอบประเด็นคำถามหมดทุกประเด็นแล้วผู้เรียนแต่ละกลุ่มจัดประชุมเพื่อวางแผนกิจกรรม เช่น ทำสมุดถามตอบ เขียนบทความประกวด สมุดบันทึกความรู้ เขียนบทวิจารณ์ เขียนแผนภูมิด้วยแผนความคิด Mind Mapping จัดทําป้ายนิเทศ สรุปความคิดรวมกันทั้งชั้น
       วิธีสอนแบบโครงสร้างความรู้
วิธีสอนแบบโครงสร้างความรู้หรือแผนผังความคิด Graphic organizer เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรวบรวมข้อมูล หรือความรู้จากการศึกษาค้นคว้า การอ่าน การฟังคำบรรยาย แล้วนำข้อมูลมาจากกลุ่มเขียนเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างความคิดกระบวนการคิดและความสำคัญของกระบวนการโดยใช้รูปภาพซึ่งสามารถแสดงโครงสร้างความคิดได้หลายรูปแบบ (ชาตรี เกิดธรรม, 2546, หน้า 86) ดังนี้
1. แผนผังความคิด (Mind Mapping หรือ Mind Map)
แผนผังความคิด ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ระหว่างการคิดกระบวนการคิดและความสัมพันธ์ของกระบวนการคิดตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะช่วยทำให้มองเห็นภาพรวมของความคิด และโครงสร้างของความคิดในเรื่องที่กำลังคิดมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดหลักความคิดรองและความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหักศึกษา จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้น
ลักษณะการเขียนแผนผังความคิดเห็นว่าจากความคิดหลักจะเชื่อมโยงไปสู่ความคิดลองในหลายๆประเด็นก็จะประกอบด้วยความคิดย่อยและจากความคิดด้วยก็อาจจะประกอบด้วยความคิดย่อยลงไปอีกก็ได้
2. ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้ (Tree Structure )
ผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้จะใช้ในการแสดงความสำคัญของเรื่องที่มีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันไปตามลำดับจากใหญ่ไปหาจุดเล็กๆ รูปร่างของการเขียนแบบมีโครงสร้างลักษณะ คล้ายต้นไม้ที่มีกิ่งก้านหรืออาจจะมีลักษณะคล้ายแผนภูมิการบริหารองค์กรวิธีการเขียนให้เริ่มต้นหัวข้อเรื่องไว้ข้างบนหรือตรงกลางแล้วลากเส้นให้เชื่อมโยงกับความคิดรวบยอดที่มีความสำคัญรองๆลงไปตามลำดับ
ลักษณะการเขียนแผนผังแสดงความสัมพันธ์แบบโครงสร้างต้นไม้เมื่อเห็นว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการนำเสนอโครงสร้างของเรื่องที่ต้องเรียงลำดับความสัมพันธ์ของข้อมูลอย่างเป็นระบบและมีการสรุปเป็นประเด็นของแต่ละเรื่อง
3. แผนผังความคิดแบบเวนน์ (Venn diagram)
แผนผังความคิดแบบ เวนน์นี้เป็นแผนที่ไว้แสดงข้อมูลเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดที่หมายถึงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆของบุคคลสถานที่หรือสิ่งของในลักษณะต่างๆเป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของแนวคิดตั้งแต่ 2 แนวคิด ขึ้นไปโดยสามารถเขียนแผนผังแสดงความคิดดังต่อไปนี้
แผนผังความคิดของเวนน์จะเห็นว่าผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะที่เหมือนกันคือเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่าคนเหมือนกันส่วนลักษณะมีจุดแตกต่างกันไป
4. แผนผังความคิดแบบวงจรหรือแบบวัฏจักร (Cycle graph)
แผนผังความคิดแบบวงจรหรือแบบวัฏจักรเป็นการคิดแบบวงจรที่ใช้แสดงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ต่างๆกับระยะเวลาที่มีการเรียงลำดับการเคลื่อนไหวของข้อมูลที่เป็นวัฏจักรที่ไม่มีจุดเริ่มต้น ณที่ ใดที่หนึ่ง
5. แผนผังก้างปลา (fish boone)
แผนผังก้างปลาเป็นแผนผังความคิดที่นิยมเพื่อแสดงสาเหตุและผลต่างๆของปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจะเห็นว่าการเขียนแผนผังก้างปลาเพื่อแสดงสาเหตุของปัญหาจะทำให้มองเห็นสาเหตุของปัญหาได้ละเอียดรอบคอบครบถ้วนเหมาะสม ในการนำไปใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาสาเหตุของปัญหาทั้งที่เป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่ม
6.แผนผังแบบลำดับขั้นตอน (sequence chart)
แผนผังแบบลำดับขั้นตอนเป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงลำดับขั้นตอน เป็นแผนผังที่แสดงให้เห็นถึงสภาพเหตุการณ์หรือเนื้อหาสาระที่เป็นกระบวนการเรียงตามลำดับต่อเนื่อง
กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่แสดงด้วยแผนผังแบบลำดับเป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นโดยมีเครื่องหมายลูกศรแสดงเส้นทางของลำดับขั้นตอนให้เห็นอย่างชัดเจน
แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการสอน
การสอนเน้นกระบวนการกระทำหรือการจัดประสบการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างคุ้มค่าและให้ได้รับประสบการณ์ตามความคาดหวังหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ของการสอนผู้สอนควรพิจารณาเลือกวิธีสอนต่างๆไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนนั้นๆโดยอาศัยปัจจัยต่างๆอาทิ เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอนในความสามารถประสบการณ์และความสำคัญ
การประเมินประสิทธิภาพการสอน  นอกจากจะใช้วิธีเทียบเคียงกับหลักและลักษณะการสอนที่ดี ทางในขั้นต้นแล้ว อาจจะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาจากความหมายของประสิทธิภาพการสอนที่ หมายถึง ผลการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยอาศัยความสามารถในการปฏิบัติการสอนของผู้สอนหรือการดำเนินการสอนในการวางแผนการเรียนรู้ออกแบบ และเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดบุคลิกลักษณะหรือพฤติกรรมต่างๆของผู้สอนที่จะทำให้การเรียนการสอนนั้นๆบรรลุสำเร็จอย่างราบรื่นตามความมุ่งหมาย  ส่วนวิธีการที่จะได้นำมาซึ่งข้อมูลนั้นอาจได้มาจากการพูดคุยสัมภาษณ์สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในที่นี้ขอนำเสนอการได้มาซึ่งข้อมูลในการประเมินประสิทธิภาพการสอนจาก 4 แหล่งคือ
1. ประเมินตนเอง (Teacher self- Report)
2.การสังเกตการสอนในชั้นเรียน (Observation Report)
3. การประเมินโดยผู้เรียน (student Report)
4. การประเมินจากกลุ่มเพื่อน (Teacher peers)
การประเมินประสิทธิภาพการสอนไม่ว่าจะใช้วิธีใดหรือจากแหล่งข้อมูลใดการประเมินประสิทธิภาพการสอนควรมุ่งพิจารณาในประเด็นต่างๆดังนี้
1. จุดมุ่งหมายของการสอน
2. วิธีสอนเป็นเทคนิคหรือกลวิธีที่ผู้สอนจะต้องเลือกใช้
3. สื่อการสอนเป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ที่สมบูรณ์แก่ผู้เรียน
4. การวัดผลเป็นกระบวนการติดตาม ผลการปฏิบัติการสอนว่าผู้เรียนเกิดคุณลักษณะต่างๆ
5. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้สอนการจัดการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนหมายถึงการจัดกิจกรรมโดยวิธีต่างๆอย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสร้างเสริมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมของประเทศชาติต่อไปเริ่มจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนจึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนในหลากหลายวิธี
กิจกรรมการเรียนการสอนตามขั้นตอนของการใช้ในการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือในการสอนแต่ละครั้งมักถูกออกแบบเป็น 3 ขั้นตอน คือกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน กิจกรรมขั้นการสอน และกิจกรรมขั้นสรุป โดยแต่ละกิจกรรมมีรายละเอียดดังนี้
1.กิจกรรมขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและดึงดูดชักนำให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเรียนเนื้อหาที่ผู้สอนจำเป็นจะต้องให้เสริมประสบการณ์ใดก่อนหรือไม่ และในการนำกิจกรรมต่างๆไปใช้นี้ก็ควรได้มีการพิจารณาเรื่องของการแบ่งเวลาให้เหมาะสมไม่ใช้เวลามากจนเกินไปกิจกรรมที่นำเข้าสู่บทเรียนมีได้หลากหลายตัวอย่างเช่นกิจกรรมเล่าเรื่องต่างๆ

2. กิจกรรมขั้นการสอน ผู้สอนสามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบตามวิธีการสอนต่างๆโดยผู้ส่งจะต้องพิจารณาตามความ สมควรเหมาะสมในการนำมาใช้โดยพิจารณาตามหลักทฤษฎีต่างๆและข้อจำกัดของการสอนนั้นแม้นกิจกรรมสอนมีหลายวิธีการ ด้วยการใช้การสอนแบบรายงาน การสอนแบบการแก้ปัญหาหรือการสอนแบบวิทยาศาสตร์ การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมุติ การสอนโดยกระบวนการเป็นกลุ่มการสอนและเป็นศูนย์กลางการเรียน การสอนแบบหน่วย เป็นต้น
3. กิจกรรมขั้นสรุป เป็นการประมวลสาระสำคัญของบทเรียนแต่ละบทเรียนที่ได้เรียนจบลงเพื่อให้ผู้เรียนได้แนวคิดที่ถูกต้องในบทเรียนนั้นๆ และเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้ในเนื้อหาต่อไปโดยทั่วไปแล้วการสรุปบทเรียนส่วนใหญ่จะเป็น เพื่อสรุปใจความสำคัญแต่ละตอน ในระหว่างบทเรียน หรือสรุปเมื่อจบบทเรียนหรือเมื่อผู้เรียนฝึกปฏิบัติจบลงก็เป็นไปได้กิจกรรมเข้าสู่บทเรียนหรือเนื้อหาที่สอนนี้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
 3.1 การสรุปทบทวน
3.2 การสรุปจากการปฏิบัติ
3.3 สรุปการใช้อุปกรณ์
3.4 สรุปจากการสร้างสถานการณ์
ลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี
1.กิจกรรมที่จัดขึ้นต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
2. ต้องเป็นกิจกรรมที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด
3. ควรมีการจัดลำดับชั้นของกิจกรรมจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก
4. ต้องเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
5. ต้องมีลักษณะของกิจกรรมที่ท้าทาย
6. เพิ่มเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ เปิดกว้าง
7. เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการใช้ความคิด
8. ควรเป็นกิจกรรมที่ผู้สอนมีบทบาทเพียงผู้ชี้แนะ
ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีทฤษฎีที่มีความเกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่มุ่งความสนใจไปที่บทบาทของผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ นักจิตตวิทยาการเรียนรู้แนวคอนสตรัคติวิซึมที่มีชื่อเสียงกลุ่มมีได้แก่ Dewey,Piaget,Vigoskyและ Ausubelเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นการพยายามเชิงสังคมเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือกันซึ่งมีความสำคัญของการสร้างความรู้โดยกลุ่มคน ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานดังนี้
1.1 ผู้เรียนตั้งระบบความเข้าใจด้วยตนเองมากกว่าการส่งผ่านบริการถ่ายทอดจากผู้สอน
1.2 การเรียนรู้ไหมสร้างบนพื้นฐานของการเรียนรู้ที่ผ่านมา ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ได้โดยอาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
1.3 การเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดต่างๆและทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินความเข้าใจตนเอง
1.4 การเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงการเสริมสร้างให้การเรียนรู้ที่มีความหมายการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึมนั้น ยอมรับข้อมูลที่มีอยู่ในน้ำและข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น
2. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavionsm) เป็นทฤษฎีที่ชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากพลังกระตุ้นจากภายนอกในรูปแบบของการให้รางวัลและการลงโทษ ผู้เรียนมีบทบาทคอยรับสิ่งเร้าและมีปฏิสัมพันธ์ ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการควบคุมและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหมาย ด้วยการให้รางวัลหรือการลงโทษ
3. ทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism) เป็นทฤษฎีที่ชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการรับข่าวสารจัดเก็บข่าวสารและการนำข่าวสารออกมาใช้ ผู้เรียนต้องตื่นตัวในการพัฒนากลยุทธ์ที่จัดสร้างความเข้าใจอย่างมีความหมาย ส่วนผู้สอนถือเป็นผู้ร่วมขบวนการพัฒนากลยุทธ์และการใช้กลยุทธ์อย่างมีความหมาย
4. ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanism) มนุษย์ทุกคนเกิดความพร้อมกับความดีที่ติดตัวมาแต่กำเนิดมีอิสระที่จะนำตนเองและพึ่งตนเองได้มีความคิดสร้างสรรค์ที่จะทำประโยชน์ต่อสังคม มีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆที่จะทำให้ผู้อื่นไม่เดือดร้อน ในการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีนี้ ควรให้ผู้เรียนมีสมรรถภาพในด้านความรู้ อารมณ์ ความรู้สึก และทักษะไปพร้อมพร้อมกัน ซึ่งความว่ามีคนฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิดรู้จักใช้เหตุผลมีความชื่นชมต่อสิ่งที่เรียนและค่อยๆรุนแรงโดยทำกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
การจัดการเรียนรู้ตามแนวการปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยความร่วมมือของหลายฝ่ายร่วมมือการพัฒนาและปรับปรุงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้สอน ศึกษานิเทศก์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรสถาบันวิชาการ หน่วยงานและสื่อมวลชน
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545 มาตรา๒๔กำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้อย่างชัดเจน โดยการประสานเชื่อมโยงบทบาทของทุกคนให้เกิดการปฏิรูปทางการศึกษาโดยมีลักษณะสำคัญดังนี้
    บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้
2. กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาโรงเรียนไว้ในธรรมนูญโรงเรียนมี แผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545 หมวด 4 ที่ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา
3. ปรับปรุงการบริหารจัดการให้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูผู้สอนได้มีเสรีภาพในการคิดพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ทำการวิจัยในชั้นเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้การในระหว่างเพื่อนครู การทำงานโดยการผนึกกำลังของกลุ่มวิชาการต่างๆเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ได้มาตรฐานหลักสูตร
4. พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศเลือกต่อการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด
5. จัดให้มีระบบนิเทศภายในช่วยเหลือครูในด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
     บทบาทของครูผู้สอน
1.ปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เอื้อต่อการปฏิรูปการเรียนรู้เป็นตัวอย่างในการพัฒนาวินัยในตนเอง
2. พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้มีความรู้และความสามารถในการปฏิบัติการปลูกฝังค่านิยมที่ดี และจริยธรรมให้ผู้เรียนให้ความรักความเมตตาต่อผู้เรียน
3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง
4. ทำการวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กับการเรียนการสอนนำผลมาพัฒนาปรับปรุง
5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดบทบาทของผู้เรียน
6. ช่วยให้ผู้เรียนยอมรับและพัฒนาตนเอง มีความเข้าใจตนเอง ยอมรับความรู้สึกของตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองว่าเป็นคนมีคุณค่า
7. ให้คำปรึกษาในด้านการเรียนการสอนการวางแผนชีวิตและแนวทางการพัฒนาตนเองสู่อาชีพช่วยให้ผู้เรียนตั้งจุดมุ่งหมายในชีวิตตามสภาพความเป็นจริงที่เป็นไปได้
8. ช่วยให้ผู้เรียนมีวุฒิภาวะรู้จักข้อดีข้อเสียของตนเอง
9. กระตุ้นให้ผู้เรียนกล้าเผชิญปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ
10. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลีลาการเรียนรู้ของตนเองเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ และรู้จักวิธีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ใฝ่รู้อยู่เสมอ
11. ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประเมินตนเองและทบทวนการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นเสมอ
12. เป็นกัลยาณมิตรกับนักเรียน เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียน
   บทบาทของพ่อแม่ผู้ปกครอง
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้
2. ให้ความรักและความอบอุ่น
3. ให้การอบรมเลี้ยงดูเอาใจใส่ในการสร้างสุขนิสัยที่ดี พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันปัญหาต่างๆ
4. เป็นตัวอย่างแก่บุตรธิดา และปลูกจิตสำนึกในเรื่องวินัยในตนเองความรับผิดชอบความปลอดภัย
5. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในบ้าน
6. ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำและการเสริมแรง
7. ร่วมมือกับโรงเรียนในการให้ข้อมูลและประเมินผู้เรียน
8. เป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต
    บทบาทของชุมชน
1. ปรับเปลี่ยนแนวคิดความเชื่อในเรื่องการปฏิรูปการศึกษา
2. ให้ความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้
3. ร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาสถานศึกษาในทุกๆด้าน
4. ประสานสัมพันธ์กับสถานศึกษาเพื่อสร้างบรรยากาศให้ชุมชนเป็นแหล่งการเรียนรู้ และพัฒนาชุมชนเป็นสังคมแห่งปัญญา
5. ดูแลเอาใจใส่พฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชน
   บทบาทของผู้เรียน
ความมุ่งหมายของการปฏิรูปการเรียนรู้ คือ ต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะ เก่ง ดี มีความสุข ผู้เรียนจึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้จากผู้รับความรู้มาเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัดความสนใจ และความสามารถของตนเอง ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของผู้เรียนควรมีดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายการศึกษาให้สอดคล้องกับความสามารถความถนัดและความสนใจของตนเอง
2. มีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้วางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้ปกครองและครู
3. รับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์บริหารจัดการเรียนรู้ของตนเอง
4. ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
5. ปฏิบัติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้รู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
6. รู้จักประเมินตนเองและผู้อื่น
7.ศรัทธาต่อผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับครูและเพื่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น